เมนู

ธรรมชาติที่ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เห็นผิดโดยความ
ไม่ถือเอาตามความเป็นจริง. มิจฉาทิฏฐินั้นมีความเห็นวิปริตเป็นลักษณะโดย
นัยเป็นอาทิว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล ดังนี้ ชื่อว่า มีโทษน้อย และ
มีโทษมาก
เหมือนสัมผัปปลาปะ อีกอย่างหนึ่ง อนิยตฉาทิฏฐิมีโทษน้อย
นิยตมิจฉาทิฏฐิมีโทษมาก. องค์ของมิจฉาทิฏฐิมี 2 อย่าง คือ วตฺถุโน จ
คหิตาการวิปรีตตา
(เรื่องทั้งหลายวิปริตจากอาการที่ถือเอา) 1. ยถา จ ตํ
คณฺหาติ ตถาภาเวน ตสฺสูปฏฺฐานํ
(ความปรากฏแห่งเรื่องนั้นโดยความ
ไม่เป็นจริงตามที่ยึดถือ) 1. บรรดามิจฉาทิฏฐิเหล่านั้น กรรมบถย่อมแตกไป
เพราะนัตถิกทิฏฐิ อเหตุกทิฏฐิ และอกิริยทิฏฐิเท่านั้น กรรมบถย่อมไม่แตกไป
เพราะทิฏฐิอื่น ๆ.

ว่าด้วยอกกุศอกุศลกรรมบถ 5 ประเภท



พึงทราบวินิจฉัยอกุศลกรรมบถ 10 แม้เหล่านี้ โดยอาการ 5 คือ
โดยธรรม (ธมฺมโต) โดยโกฏฐาส (โกฏฺฐาสโต) โดยอารมณ์ (อารมฺ-
มณโต)
โดยเวทนา (เวทนาโต) โดยมูล (มูลโต).
บรรดาอาการ 5 เหล่านั้น คำว่า โดยธรรม ความว่า ก็บรรดา
อกุศลกรรมบถ 10 เหล่านั้น อกุศลกรรมบถ 7 โดยลำดับ (คือกายทุจริต 3
วจีทุจริต 4) เป็นธรรมคือเจตนาเท่านั้น อกุศลกรรมบถ 3 มีอภิชฌาเป็นต้น
เป็นธรรมที่สัมปยุตกับเจตนา.
คำว่า โดยโกฏฐาส ได้แก่ อกุศลกรรมบถ 8 ที่ไม่เป็นมูล คือ
อกุศลกรรมบถ 7 โดยลำดับ และมิจฉาทิฏฐิ 1. อภิชฌาและพยาบาทเป็น
กรรมบถด้วย เป็นมูลด้วย. จริงอยู่ อภิชฌา คือ โลภะเพ่งถึงมูล ย่อมเป็น
อกุศลมูล พยาบาท คือ โทสะ ย่อมเป็นอกุศลมูล.